วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

หน่วยที่ 2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

วัสดุ อุปกรณ์ กลุ่มสีในการผูกผ้าและจับจีบผ้า
สาระสำคัญ
วัสดุ อุปกรณ์ หมายถึง สิ่งต่างๆที่จะช่วยและเอื้อประโยชน์ ประหยัดเวลา และทำให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์
กลุ่มสี คือ สีที่ใช้ในงานออกแบบ สีจึงมีอิทธิพลต่อจิตใจของมนุษย์ ทำให้เกิดอารมณ์ต่างๆ เพราะทุกสิ่งรอบๆตัวล้วนมีสีสันทั้งสิ้น
การผูกผ้าและการจับจีบผ้า การปฏิบัติงานจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของงานและผลงาน ประณีต สวยงาม ขึ้นอยู่กับวัสดุ อุปกรณ์ และกลุ่มสีที่ใช้ในการปฏิบัติงาน การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ ชนิดใดขึ้นอยู่กับลักษณะงานและสถานที่ที่ต้องการตกแต่ง

สาระการเรียนรู้
1. วัสดุและอุปกรณ์
2. กลุ่มสี
3. วิธีการเก็บรักษา วัสดุ และอุปกรณ์
4. วิธีการใช้กลุ่มสี
5. ประโยชน์ของการเก็บรักษาวัสดุและอุปกรณ์
6. ประโยชน์ของการใช้กลุ่มสี

ผลการเรียนรู้
1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาวัสดุ อุปกรณ์
2. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกใช้กลุ่มสี
3. มีทักษะในการใช้วัสดุและอุปกรณ์และการเลือกใช้กลุ่มสี

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมายของวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผูกผ้าและจับจีบผ้า
2. มีทักษะในการเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์
3. เลือกใช้กลุ่มสีได้ตามลักษณะงานและวัตถุประสงค์ของงาน
4. เก็บรักษาวัสดุและอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง
5. เห็นคุณค่าของการเก็บรักษาวัสดุและอุปกรณ์

1. วัสดุ อุปกรณ์
1.1 วัสดุ อุปกรณ์ หมายถึง สิ่งต่างๆที่จะช่วยและเอื้อประโยชน์ ประหยัดเวลา และทำให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของงาน
1.2 ประเภทของวัสดุและอุปกรณ์
1. ผ้า ( Material ) คือ วัสดุที่เป็นผืน มีความกว้างมากกว่าความยาว ผลิตมาจากเส้น ใยหน่วยที่เล็กที่สุด มีความยาวมากกว่าความกว้าง จะทำเป็นเส้นด้ายก่อน จะทำเป็นผ้าด้วยวิธีใดก็ได้
1.1 ผ้าใยธรรมชาติ มีคุณสมบัติทนต่อการซัก - รีด ยับง่าย มีความคงรูปเมื่อจับจีบ มีน้ำหนัก ดูดซึมน้ำได้ดี ระบายความร้อน เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าป่าน ผ้าลินิน 1.2 ผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์ มีคุณสมบัติน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นและเหนียว มีความ มันวาว จับจีบได้ดีคงรูป เช่น ผ้าโพลีเอสเตอร์ ไนลอน ออร์ลอน 2. ลวด ( nipper ) คือวัสดุที่ใช้ในการมัด ลักษณะเป็นโลหะ มีลักษณะเป็นขด ขนาดที่นิยมใช้ (N0.20,22 ) การใช้ลวดในการมัดจะทำให้วัสดุแข็งแรง ทนทาน ผ้ามีการเรียงลำดับของจีบที่สวยงาม เนื่องจากมีความแน่นหนาและกำหนดตามรูปแบบลวดลายได้ตามต้องการ การมัดใช้วิธีบิดเกลียว ขันชน็อก เวลาเก็บผลงานจะสะดวกและรวดเร็ว เป็นการประหยัดเวลา
3. คีมตัดลวด ( Wire - Cutter ) หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการตัดลวด เพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงานและเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำหนดขนาดของลวดตามความต้องการ ในการใช้งานหรือใช้เป็นเครื่องผ่อนแรง เวลาต้องการขันเกลียวลวด ซึ่งมือไม่สามารถบิดเกลียวได้
4. ฆ้อน ( Mallet ) หมายถึง อุปกรณ์ที่ช่วยตอก เพื่อเพิ่มน้ำหนักในการยึดติดของตะปู เป็กและเป็นตัวกำหนดตำแหน่งของงานที่เป็น ดอก เฟื่อง ระย้า มีขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ตามความต้องการและการเลือกใช้ มีชนิดที่ด้ามเป็นเหล็ก เป็นไม้
5. กรรไกร ( Scissors ) หมายถึง อุปกรณ์ที่ช่วยตัดวัสดุ ในการจัดตกแต่งสถานที่มีทั้ง ชนิดที่เป็นเหล็กสแตนเลส มีขนาดสั้น ยาว ตามความต้องการ ขนาดของกรรไกรที่ใช้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงาน มีขนาด 5 นิ้ว หรือ 8 นิ้ว 6. เป็ก ( Peg ) หมายถึง วัสดุที่หัวกลม มีความแหลมคมและช่วยยึดติดวัสดุมิให้เคลื่อนออกจากกัน มีทั้งชนิดหัวเป็นสีเงินและสีทอง
7. เข็มหมุด ( Pin ) หมายถึง วัสดุที่เป็นสแตนเลส ส่วนหัวเป็นมุก มีหลายสี ส่วนปลายแหลมคม แต่ที่นิยมมากที่สุด คือ สีขาว เพราะใช้เป็นส่วนในการตกแต่งของงาน ขนาดความยาวของหมุด ประมาณ 1 ½ นิ้ว
8. ผ้าพลาสติก ( Plastic ) หมายถึง วัสดุพลาสติกช่วยปกป้องและรักษาความสะอาดของการจัดตกแต่งโต๊ะและช่วยประหยัดเวลาในการซักรีด มีขนาดหน้ากว้าง 60 นิ้ว หรือ 42 นิ้ว ตามความต้องการของงาน
1.3 โครงสร้าง ( Structure ) คือ ส่วนประกอบที่เป็นพื้นฐานของการจัดตกแต่งสถานที่ ที่มีขนาดแตกต่างกัน ตั้งแต่ขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. โครงสร้างเคลื่อนที่ เช่น รถยนต์ บอร์ด โต๊ะ ซุ้ม โพเดียม 2. โครงสร้างถาวร เช่น เวที รั้วกำแพง เพดาน เสา สะพาน
1.4 วิธีการเก็บรักษาวัสดุและอุปกรณ์
การเก็บรักษาวัสดุและอุปกรณ์ในงานผูกผ้าและจับจีบผ้าในการจัดตกแต่งสถานที่ มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่พร้อมสำหรับการปฏิบัติงาน วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผูกผ้าและการจับจีบผ้า มี 8 ชนิด

ผ้า ( Materiel ) หมายถึง วัสดุที่เป็นพื้นที่ในการปฏิบัติงานผูกผ้าและจับจีบผ้า โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
ใยธรรมชาติ ได้แก่ ฝ้าย, ลินิน , ป่าน, ปอ, ป่านศรนารายณ์, นุ่น, รามี, ใยมะพร้าว ใยประดิษฐ์ มีเซลลูโลส เรยอน อาซิเดต ไตรอาซิเดค ไนลอน อารามิค โพลีเอสเตอร์ ใยประดิษฐ์ ไม่มีเซลลูโลส ไนลอน อารามิค โพลีเอสเตอร์
ในการเก็บรักษาผ้า การขจัดสิ่งสกปรกออกจากผ้า ( Detergency ) การขจัดสิ่งสกปรก โดยการใช้สบู่หรือสารซักฟอก เพื่อขจัดรอยสกปรก เนื่องจากผงซักฟอกมีส่วนประกอบของสารหลายชนิดซึ่งหน้าที่ต่างกัน ดังนั้นการใช้ผงซักฟอกในปริมาณที่มากและสัดส่วนตามที่ระบุไว้ในฉลากและข้อแนะนำของสินค้า เพราะถ้าใช้ในปริมาณมากเกินไป อาจล้างทำความสะอาดคราบผงซักฟอกออกไม่หมด สารผงซักฟอกจะตกค้างบนผ้าและจะทำลายเส้นใยผ้า แต่ถ้าใช้ในปริมาณที่น้อยเกินไปคราบสกปรกอาจไม่หมดไป
การกำจัดรอยเปื้อน การกำจัดรอยเปื้อนต้องกระทำก่อนนำผ้าไปซัก จะทำให้ผ้ามีสภาพเหมือนเดิมมากที่สุด ควรจะกำจัดรอยเปื้อนตั้งแต่แรก เพื่อให้รอยเปื้อนออกได้ง่าย เนื่องจากผ้าที่ใช้งานทอมาจากเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยประดิษฐ์ จึงมีวิธีการกำจัดรอยเปื้อน ที่มีลักษณะแตกต่างกัน หากทำผิดวิธีอาจจะทำให้ผ้าเสียหายได้ ไม่ควรใช้น้ำร้อนกับรอยเปื้อนที่ไม่ทราบสาเหตุ ต้นตอของการเกิดรอยเปื้อนเพราะความร้อนจะทำให้รอยเปื้อนฝังลึกมากขึ้น
เทคนิคและวิธีการกำจัดรอยเปื้อน มี 3 วิธี 1. วิธีการจุ่มหรือการแช่ เหมาะสำหรับรอยเปื้อนที่มีขนาดใหญ่ มีรอยเปื้อนหลายแห่ง ในผ้าผืนเดียวกันและต่อเนื่อง เช่น ผ้าเป็นม้วนที่มีความยาว เช่น ผ้าฝ้าย ลินิน การแช่ผ้าในน้ำยากำจัดรอยเปื้อนที่ผสมกับน้ำ
2. วิธีใช้ไอน้ำร้อน รอยเปื้อนผ้าสี เช่น ผ้าไหม ใช้รอยเปื้อนพาดบนอ่างน้ำร้อนแล้วหยดสารลบรอยเปื้อน ไอน้ำร้อนจะช่วยให้รอยเปื้อนง่ายมากขึ้น
3. วิธีหยด ใช้สารหยดน้ำยาบนรอยเปื้อน โดยค่อยๆหยดแล้วล้างสารออกด้วยน้ำเปล่าและซักอีกครั้งให้สะอาด 4. วิธีการเช็ด ใช้สำลีหรือฟองน้ำเช็ดบริเวณรอยเปื้อน โดยเช็ดซ้ำๆ ใช้กระดาษซับหรือใช้ผ้าขนหนูรองด้านล่างตรงรอยเปื้อน เพื่อซับน้ำยา ระมัดระวังอย่างให้รอยเปื้อนขยายวงกว้างออกไปการดูแลรักษาผ้า การจำแนกผ้าก่อนซัก ( Sorting ) จำเป็นต้องแยกประเภทของผ้า จำแนกตามสี แยกตามชนิดของรอยเปื้อน แยกตามชนิดของเนื้อผ้า แล้วจึงแยกตามประเภทและชนิดของผ้า ควรกำจัดรอยเปื้อนและซ่อมแซมก่อนนำไปซักทุกครั้ง
การเก็บ ( Storage ) ผ้าที่ซักทำความสะอาดแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องเก็บมักจะพบปัญหาว่ามีของใช้มากจนไม่มีที่เก็บ ผ้าที่เก็บไว้จะต้องสะอาดและเก็บรักษาผ้าอย่างระมัดระวัง ในที่ที่มีแสงสว่าง ไม่มีรอยยับ โดยแยกตามประเภทของการใช้งาน ควรรีดและม้วนเก็บ ให้มีรอยยับน้อยที่สุดและพร้อมที่จะหยิบมาใช้งานได้ตลอดเวลา ที่เก็บผ้าจะต้องมีความสะอาด ปลอดฝุ่นละออง ควรห่อหุ้มด้วยพลาสติก แต่ข้อควรระวัง คือ พลาสติกมีกรดโดนผ้า ทำให้ผ้าเปลี่ยนสี ความชื้นและความมืดจะสร้างสภาวะให้เกิดเชื้อรา ผ้าที่จะเก็บรักษาต้องแห้งสนิท สะอาดและมีแสงสว่าง มีลมพัดผ่าน
ข้อเสนอแนะในการดูแลรักษา ผ้าใยธรรมชาติ มีความยืดหยุ่น คืนตัวน้อย ยับง่าย ทนความร้อนสูง ตากแดดจัด ราขึ้นได้ง่าย แมลงชอบกิน การรีดใช้ความร้อนสูง ใช้น้ำร้อนจัดต้มหรือซักก็ได้ ผ้าจากใยประดิษฐ์ เวลาซักมีข้อเสีย ลดความเหนียว จะเสียรูปทรงใยพองตัวและยืด ถ้าเปื้อน การซักควรใช้ผงซักฟอกชนิดอ่อน กรณีเปื้อนอาหารควรซักทันที
วิธีการเก็บรักษาวัสดุ อุปกรณ์
ผ้าจากใยประดิษฐ์ เรยอน ( Rayon ) ซักน้ำได้ จะยับมากเสียเวลาในการรีด
ลวด ( nipper ) เป็นวัสดุโลหะ ลักษณะเป็นเส้นกลมเรียวเล็ก ควรตัดเฉพาะที่จำเป็นในการ ใช้งาน ควรระวังนิ้ว ควรเก็บในที่แห้ง ขนาดที่นิยมใช้ ( N0.20,22 ) ข้อควรระวัง การเก็บรักษา ควรม้วนเป็นวงกลม เพื่อสะดวกในการใช้งาน คีมตัดลวด ( Wire - Cutter ) ลักษณะเป็นคีมมีขนาดกลาง เป็นที่ใช้ในการผูกผ้าหรือใช้ดึงเป็ก เข็มหมุด ออกจากวัสดุ โครงสร้างมีทั้งชนิดปลายเรียวแหลมและปลายสี่เหลี่ยมปลายด้ามจะหุ้มฉนวนที่เป็นพลาสติกเพื่อความปลอดภัย ฆ้อน ( Mallet ) ใช้ตอกและยึดติดวัสดุ โครงสร้าง เช่น ตะปู หรือใช้ในการตอกยึดติดผ้าปูบนและพลาสติกให้ติดกับโต๊ะ ลักษณะเป็นฆ้อนขนาดเล็กความยาก 8 – 12 นิ้ว ด้ามจะเป็นไม้ พลาสติก เหล็ก น้ำหนักเบา แข็งแรงทนทาน กรรไกร ( Scissors ) เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการตัดและใช้ตกแต่ง กรรไกรขนาด เบอร์ 10 หรือเบอร์ 12 ใช้ในงานตัด ซึ่งจะต้องรักษาความคมสม่ำเสมอและต้องระมัดระวังอย่าให้ตกและหมดคม
เป็ก ( Peg ) ใช้เป็นเครื่องมือในการตรึงเพื่อยึดผ้าปูด้านนอกและพลาสติกให้ติดและเรียบ ตรึงลักษณะของเข็มหมุดหัวกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.25 นิ้ว ความยาว 1 ½ นิ้ว ลักษณะเป็นสีเงินและทองเหลือง ( เข็มหมุดทองเหลือง จะมีความทนทานและใช้งานได้นาน )

เข็มหมุด ( Pin ) ใช้เป็นเครื่องเกาะ เกี่ยวและตกแต่งลวดลายในการผูกผ้าและจับจีบผ้า ควรมีหมอนปักเข็มหรือกล่องใส่วัสดุเฉพาะ เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน เพราะจะรักษาเข็มไม่ให้หล่นหายหรือกระจัดกระจาย ลักษณะของเข็มหมุดปลายแหลมคม หัวหมุดสีขาว ใช้สำหรับกลัดยึดผ้าให้ติดกับโต๊ะ
ผ้าพลาสติก ( Plastic ) เป็นสารสังเคราะห์ ( Systolic ) เป็นอโลหะและไม่ยืดหยุ่น วัตถุดิบที่ใช้ในการทำพลาสติก คือ น้ำมันดิบ ถ่านหิน หินปูน ใยพืช น้ำ อากาศ พลาสติกที่ใช้ในการจัดตกแต่งสถานที่ เทอริโมพลาสติก ( Thermoplastic ) หรือพลาสติกอ่อนเป็นพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก เมื่อถูกความร้อนจะอ่อนตัวและหลอมละลาย เมื่อเย็นตัวลงจะแข็ง ตัวหลอมละลายนำกลับมาใช้ใหม่ได้
เทอรโมพลาสติก แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ไนล่อน ( Nylon หรือ Polyamide ) ใช้เป็นวัสดุทดแทนงานผ้า ถุงเท้า
2. โพลีเอทิลีน ( Polyethylene ) หรือพลาสติกพีอี ( PE ) ทำจากแก๊สเอทิลีน
คุณสมบัติ มัน ลื่นคล้ายขี้ผึ้ง ยืดตัวได้ดี เนื้อใสสีขาวและขุ่น เหมือนน้ำมันเบนซินชนิด
ความหนาแน่นตัว LLPPE = LOW DENSITY POLYETHEIRN ใช้มากที่สุดในประเทศไทย การเก็บรักษา ลักษณะของผ้าพลาสติกใสที่ใช้มีหน้ากว้าง 48 นิ้วหรือ 60 นิ้ว การทำความสะอาดและม้วนหรือพับในลักษณะกลม เพื่อให้เกิดการพับเป็นรอยและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ข้อควรระวัง ไม่ควรเก็บโดยวิธีพับเพราะจะเป็นรอย ทำให้การปูโต๊ะไม่เรียบร้อยและไม่สวยงาม
1.5 ประโยชน์ของการเก็บรักษาวัสดุและอุปกรณ์
1. ประหยัดเวลาในการปฏิบัติงาน
2. ลดต้นทุนในการดำเนินงาน
3. มีหลักการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
4. วัสดุและอุปกรณ์ สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้
5. ยืดอายุการใช้งานของวัสดุ
1. ประหยัดเวลาในการปฏิบัติงาน หมายถึง การเลือกวัสดุมาใช้ให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ของงาน ทำให้งานราบรื่น ไม่มีข้อบกพร่อง เช่นในการผูกผ้าบนเวที ถ้าลวดมีเบอร์ใหญ่ การใช้คีมตัดลวดก็มีส่วนช่วยในการทำงาน ให้งานเสร็จรวดเร็วขึ้น 2. ลดต้นทุนในการดำเนินงาน หมายถึง การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ให้เหมาะกับประเภทและชนิดของงาน เช่น งานผูกผ้า การใช้อุปกรณ์ผ้า ลวด ฆ้อน ตะปู คีมตัดลวด งานการจับจีบผ้าใช้อุปกรณ์ เช่น ผ้า เป็ก เข็มหมุด ค้อน พลาสติก การเลือกวัสดุได้เหมาะสมสามารถหมุนเวียนหรือสับเปลี่ยนมาใช้ร่วมกันได้ สามารถควบคุมการใช้จ่ายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3. มีหลักการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หมายถึง การนำวัสดุ อุปกรณ์ในการผูกผ้าและจับจีบผ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ผ้าที่ใช้จับจีบนำมาตกแต่งซุ้ม ฉาก เวที บันได และการจัดตกแต่งบนโต๊ะอาหารได้ ทำให้การใช้ประโยชน์ของผ้า มีคุณค่าในแต่ละงานอย่างเหมาะสม
4. วัสดุและอุปกรณ์ สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ หมายถึง วัสดุผ้าที่ใช้ในการตกแต่งเมื่อเสร็จสิ้นจากการปฏิบัติงาน ซักทำความสะอาดและรีดเก็บให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
5. ยืดอายุการใช้งานของวัสดุ หมายถึง การรู้คุณค่าของการใช้วัสดุ อุปกรณ์ เช่น ผ้ามีลักษณะ เช่นไร เช่นผ้าฝ้าย มีน้ำหนัก แต่ยับง่าย ควรเก็บรักษาควรรีดให้เรียบและเก็บในลักษณะที่เป็นม้วน ไม่ควรพับเพราะจะทำให้เกิดรอยได้ เวลาใช้งานจะทำให้ผลงานการผูกผ้าและการจับจีบผ้าเรียบร้อย ปราณีต สวยงาม